1. ผู้กำหนดทิศทาง (Direction-setter) ผู้จัดการศูนย์ฯ
จะต้องมีความสามารถในการ ชี้ทิศทางในการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปบรูณาการในการให้บริการจัดการศูนย์ทรัพยากร
การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change
agent) ผู้จัดการศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำ
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปใช้ในระบบการเรียน
การสอน สนับสนนุการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างจริงจังสามารถลดการต่อต้านต่อการยอมรับ
สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการเรียนการสอน
3. โฆษก (Spokesperson) ผู้จัดการศูนย์ฯ
ต้องมีความสามารถเผยแพร่
วิสัยทัศน์ของตนสามารถเจรจาหรือต่อรองกับผู้บริหารระดับต่างๆ หรือต่อองค์กร ภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานศูนย์
ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าต่อไป
4. ผู้ฝึกสอน (Coach)ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องมีความสามารถในการสร้างทีมงาน
ขึ้นมาเพื่อนำวิสัยทัศน์ของตนไปสู่การปฏิบัติต้องรู้จักสอนให้คำปรึกษาให้
คำแนะนำสร้างความไว้วางใจให้อำนาจแก่ผู้ที่จะร่วมงาน
5. วิทยากร (Trainer) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้
ไปยังทีมงาน โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ทั้งความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาศูนย์ฯ
ให้บรรลเป้าหมายของศูนย์ ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ
- กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากร การเรียนรู้
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงาน
2. ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดการกระทำผิด
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
1. สาระของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไข้เพิ่มเติม
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545) ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)
ซึ่งเป็นกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่มีความสำคัญ โดยสาระนั้นครอบคลุม
การศึกษาทั้งระบบ ซึ่งมีสาระที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
สรุปได้ดังนี้ (ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ,
2547) สาระที่ 1 หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา ใน มาตรา 24
การจัดกระบวนการเรียนรู้
ในข้อ (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ
สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวย ความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้
ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและ
แหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
สาระที่ 2 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ในมาตรา 63-69
2. สาระของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2537 การละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา 27 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
มาตรา 28 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์
หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม
มาตรา 15 (5) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ
ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1)
ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2)
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3)
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
4. สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ Creative Commons
(CC)
เป้าหมายของสัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์
ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วน หรือทั้งหมดแก่สาธารณะ
ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิ์อื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลาก รูปแบบ
ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย
โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ
เป็นการกำหนดสัญลักษณ์ทางลิขสิทธิ์เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ
และแนวทางปฏิบัติเพื่อไม่ให้ ละเมิดลิขสิทธิ์ในสากล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น