วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายบท



1. ผู้กำหนดทิศทาง (Direction-setter) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีความสามารถในการ ชี้ทิศทางในการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปบรูณาการในการให้บริการจัดการศูนย์ทรัพยากร การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
   2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent)  ผู้จัดการศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำ การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปใช้ในระบบการเรียน การสอน สนับสนนุการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างจริงจังสามารถลดการต่อต้านต่อการยอมรับ สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการเรียนการสอน
3. โฆษก (Spokesperson) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องมีความสามารถเผยแพร่ วิสัยทัศน์ของตนสามารถเจรจาหรือต่อรองกับผู้บริหารระดับต่างๆ หรือต่อองค์กร ภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานศูนย์ ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าต่อไป
4. ผู้ฝึกสอน (Coach)ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องมีความสามารถในการสร้างทีมงาน ขึ้นมาเพื่อนำวิสัยทัศน์ของตนไปสู่การปฏิบัติต้องรู้จักสอนให้คำปรึกษาให้ คำแนะนำสร้างความไว้วางใจให้อำนาจแก่ผู้ที่จะร่วมงาน
5. วิทยากร (Trainer) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ไปยังทีมงาน โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ทั้งความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาศูนย์ฯ ให้บรรลเป้าหมายของศูนย์ ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ
- กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากร การเรียนรู้ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงาน
2. ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดการกระทำผิด
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
1. สาระของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไข้เพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545)  ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545) ซึ่งเป็นกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่มีความสำคัญ โดยสาระนั้นครอบคลุม การศึกษาทั้งระบบ ซึ่งมีสาระที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้ (ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) , 2547) สาระที่ 1 หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา ใน มาตรา 24  การจัดกระบวนการเรียนรู้  ในข้อ (5)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวย ความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและ แหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ              สาระที่ 2 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในมาตรา 63-69
2. สาระของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537           การละเมิดลิขสิทธิ์        มาตรา 27 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้     
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง                  
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
มาตรา 28 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 (5) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1)      ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2)      (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3)       (3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
     4. สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ Creative Commons (CC)
เป้าหมายของสัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์  สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วน หรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิ์อื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลาก รูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ
เป็นการกำหนดสัญลักษณ์ทางลิขสิทธิ์เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ และแนวทางปฏิบัติเพื่อไม่ให้ ละเมิดลิขสิทธิ์ในสากล

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมประจำสาระรายวิชา การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ วันที่ 15-20 เมษายน 2557

1 .การจัดระบบทรัพยากรการเรียนรู้หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร

การจัดหมวดหมู่ หรือ การวิเคราะห์หนังสือ  มาจากคำว่า  Book Classification   คือ การนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาจัดแยกประเภทของแต่ละสาขาวิชาอย่างกว้าง ๆ โดยหนังสือที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันจัดเอาไว้ด้วยกัน  เนื้อหาใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน  รวมถึงหนังสือที่มีลักษณะการประพันธ์แบบเดียวกัน จัดกลุ่มไว้ด้วยกัน

2.จงอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้

เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน เมลวิล ดิวอี้ ในขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College)
       การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่างๆ
หมวดใหญ่   การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 แบ่งตามประเภทของสาระเนื้อหา กลุ่มวิชา 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้ ดังนี้
        000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities)
                100 ปรัชญา (Philosophy)
                200 ศาสนา (Religion)
                300 สังคมศาสตร์ (Social sciences)
                400 ภาษาศาสตร์ (Language)
                500 วิทยาศาสตร์ (Science)
                600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)
                700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation)
                800 วรรณคดี (Literature)
                900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography)
หมวดย่อย คือการแบ่งหมวดหนังสือระดับที่ 2 แบ่งออกเป็นอีก 10หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย ยกตัวอย่างเช่น หมวด 100 คือหมวดปรัชญา หมวดย่อยของหมวดนี้ได้แก่                 110 อภิปรัชญา                 120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์                 130 จิตวิทยานามธรรม                 140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม                 150 จิตวิทยา                 160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา                 170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม                 180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก                 190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่


3. จงอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
การจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันคือเป็นสัญลักษณ์ผสม มีทั้งหมด 21 หมวด ประกอบด้วยอักษร  A-Zยกเว้นตัวอักษร  I  O  W   X  Y โดยแบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข  1 – 9999 และแต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่ม
ลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ของระบบ LC
1. หมวดใหญ่ (Main Classes) มี 21 หมวด คือ
A = เรื่องทั่วไป 
B = ปรัชญา ศาสนา  
C = ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์   
D = ประวัติศาสตร์ทั่วไป / โลกเก่า
E-F= ประวัติศาสตร์ของทวีปอเมริกา   
G = ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา นันทนาการ   
H= สังคมศาสตร์   
J = รัฐศาสตร์     
K= กฎหมาย  
L = การศึกษา  
M = ดนตรี   
N = ศิลปะ   
P = ภาษาและวรรณคดี   
Q = วิทยาศาสตร์    
R = การแพทย์
S = การเกษตร   
T = เทคโนโลยี  
 U = วิทยาศาสตร์การทหาร   
V = นาวิกศาสตร์               
Z = บรรณารักษศาสตร์

2. หมวดย่อย (Sub Classes)
      เป็นการแบ่งย่อยจากหมวดใหญ่ (main classes)ใช้อักษรภาษาอังกฤษ 2-3 ตัว ซึ่งแต่ละหมวดอาจแบ่งหมวดย่อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขอบเขตเนื้อหา เช่น   
หมวด สังคมศาสตร์
หมวด HC = สถิติ   
หมวด HB = เศรษฐศาสตร์   
หมวด HC = ประวัติสภาวะทางเศรษฐกิจ                                 
หมวด HE = การขนส่งและการคมนาคม

3. เนื้อเรื่องย่อยของหนังสือ (subdivision / subject)
เป็นการแบ่งเนื้อหาในหมวดย่อย (sub classes) ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นโดยใช้เลข     1-9999 เติมหลังหมวดย่อย และอาจใช้จุดทศนิยม เลขคัตเตอร์หมู่ หรือตารางประเภทต่าง ๆ ในการกระจายเนื้อหาให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

4. จงอธิบายหมวดหมู่ในการจัดเก็บสื่อโสตทัศน์
โสตทัศนวัสดุกำหนดสัญลักษณ์ตามประเภทของวัสดุที่ใช้บันทึก เช่น
         1)  แผนที่                      MA (MAP) 
 2)  ภาพ                          PIC (Picture)
 3)  ภาพโปสเตอร์         PR (poster)                  
 4) ภาพยนตร์                 F (Film)                          
 5)  ภาพนิ่ง                     S (Slide)                      
 6) ภาพเลื่อน                 FS (Filmstrip)                    
 7) แผ่นโปร่งใส             TR (Transparency)          
 8) แถบบันทึกเสียง      CT (Cassette tape)
         9) วีดิทัศน์                      VC (Videotape)        10) ไมโครฟิล์มMIC (Microfilm)                  
11)  แผ่นเสียง                  PD (Phonodise)            
12)  ซีดี-รอม                     CD (CD-ROM)                        
13)  วิดีโอคอมแพคดิสก์        VCD                              
14)  ดิจิทัลวิดีโอดิสก์             DVD

5 .ถ้านิสิตสืบค้นทรัพยากรการเรียนรู้ และพบที่สันหนังสือมีเลข 371.33อ 834 ท แสดงว่าตัวเลขหมวดหมู่ดังกล่าวมีความหมายว่าอะไร จงอธิบาย
371.33 อ 834 ท มีความหมายว่า
              371 คือ เลข 3 เป็นเลขหลักร้อย 300 ในหมวดใหญ่ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
             .33 คือ เลข 3 เป็นเลขหลักสิบ 030 ในหมวดย่อย หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
           ตัว อ. คือ ตัวอักษรแรกของชื่อผู้แต่ง
              834 คือ เลขผู้แต่งหนังสือ
           ตัว ท. คือ อักษรตักแรกของชื่อหนังสือ


6. หมวดหมู่ของระบบอเมริกันและระบบดิวอี้ต่างกันอย่างไร
การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่าง ๆ ได้แก่ หมวดใหญ่และหมวดย่อย ส่วนระบบของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันจะแบ่งหมวดเป็น 21 หมวด ประกอบด้วยอักษร A-Z ยกเว้น I O W X Y แบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข  1 – 9999 แต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่ม

7. จงอธิบายประโยชน์ของการเสริมปกอ่อนให้เป็นปกแข็ง
1. ต้นทุนต่ำ ประหยัดงบประมาณ โดยเฉลี่ยประมาณ 5 บาทต่อเล่ม
2. มีวิธีการขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. มีขั้นตอนในการทำที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประมาณ 5 นาทีต่อเล่ม
4. รูปเล่มมีความคงทนแข็งแรงในการให้บริการ
5. รูปเล่มสามารถทรงตัวอยู่บนชั้นหนังสือได้ โดยปกไม่ชำรุดเสียหาย
6. มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
7. สามารถรักษาโครงสร้างรูปร่างของหนังสือได้อย่างสมบูรณ์


8. ไม้เนียน คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรในการเสริมปก
ไม้เนียน คือ ไม้ที่มีลักษณะแบนราบ และเรียบ
ประโยชน์ คือ ใช้รีดสิ่งประดิษฐ์ให้มีความเรียบเนียน และติดทน (กรณีใช้กาว)

9. วัสดุอุปกรณ์ในการเสริมปกมีอะไรบ้าง
1. กาวลาเท็กซ์ เช่น TOA
2. กระดาษแข็งหรือกระดาษปกเบอร์ 12 หรือมีความหนาประมาณ .050นิ้ว
3. ผ้าฝ้าย (100% Cotton)
4. มีดคัตเตอร์
5. กรรไกร
6. แผ่นพลาสติกตัดเพื่อไม่ให้โดนโต๊ะ
7. ไม้กระดานแผ่นเรียบ
8. แปรงทากาว
9. แท่นน้ำหนัก
10. ไม้เนียน
11. เครื่องเจียนกระดาษ (ถ้ามี)   อื่น ๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด

10. จงอธิบายความสาคัญของงบประมาณ
1. ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงการบริหารจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
 2. ใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ทำให้มีประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินเนื่องจากเป็นแผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณจะที่เกิดขึ้นในเวลาที่กำหนด
 3. สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการควบคุมแผนงานก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดี

11. ปีงบประมาณของส่วนภาครัฐ และเอกชนต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
งบประมาณเอกชน คือ งบประมาณจะจัดทำขึ้นปีละครั้ง เรียกว่า งบประมาณประจำปี เช่น รายสัปดาห์รายเดือน รายไตรมาส หรือ รายปี โดยปีงบประมาณมักจะเป็นไปตามรอบบัญชีของเอกชน เช่น เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1มกราคมและสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้น ส่วนของภาครัฐจะเริ่มปีงบประมาณในวันที่ ตุลาคม และสิ้นสุดปีงบประมาณในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป งบประมาณจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการดำเนินงานทางการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

12. จงอธิบายความหมายงบประมาณสมดุล เกินดุล และขาดดุล
1. นโยบายงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Policy) ซึ่งหมายถึงการประมาณการให้รายจ่ายประจำปีเท่ากับประมาณการรายได้ในปีนั้นๆ
2. นโยบายงบประมาณเกินดุล (Surplus Budget Policy) ซึ่งหมายถึงการประมาณการให้รายจ่ายประจำปีต่างกว่าประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน แนวทางนี้ต้องเรียกว่าเป็นแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่เกินตัวนั่นเอง
3. นโยบายงบประมาณขาดดุล (Deficit Budget Policy) หมายถึงการกำหนดให้มีการจัดทางบประมาณการรายจ่ายสูงกว่างบประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเงินหรือนำเงินสำรองมาใช้จ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณดังกล่าว

13. หมวดงบประมาณประกอบด้วยกี่หมวดอะไรบ้าง
ประเภทรายจ่ายศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
                1. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
                2. หมวดค่าจ้างชั่วคราว
                3. หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
                4. หมวดค่าสาธารณูปโภค
                5. หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
                6. หมวดเงินอุดหนุน
                7. หมวดรายจ่ายอื่น

14. จงอธิบายความหมาย “ค่าวัสดุ” และ "ค่าครุภัณฑ์"
ค่าวัสดุ คือ
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้
1.1. สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไปเอง แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิมอีกต่อไป  หรือ
        1.2. สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร แต่มีอายุการใช้งานมในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 1 ปี
 1.3. สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ1 ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งไม่เกิน5,000 บาท ยกเว้นสิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์หรือ
1.4. สิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพคงเดิม
ค่าครุภัณฑ์ คือ
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้
1.1. สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปี ขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งเกิน5,000 บาทหรือ
        1.2. สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์
2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบ ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งของตามข้อ 1 เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพดีขึ้น
ค่าใช้จ่ายตามวรรคแรกให้หมายความรวมถึงค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาเพื่อดำเนินการเอง


3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายค่าครุภัณฑ์

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมประจำสาระรายวิชา การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้วันที่ 8-11 เม.ย.57

1. สิ่งสาคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้า

       1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม

       2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน

       3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทาไว้ดี

       4.มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ

       5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม
         
2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง

       
       1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
       2.การกาหนดอานาจหน้าที่และตาแหน่งงานอย่างชัดเจน
       3.การสั่งการและการมอบหมายอานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
       4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
       5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
       6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
       7.การติดตามผล

3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ


1.การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลาย  
เป็นสาเหตุทาให้การติดต่อประสานงานที่ควรดาเนินไปด้วยดี ไม่  สามารถกระทาได้ 

2.การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ

 3.การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทางาน
Management

4.การก้าวก่ายหน้าที่การงาน

 5.การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทาให้การทางานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน 



4. คำถามเพิ่มเติม : นิสิตยกตัวอย่างการประสานอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ มาคนละ 2 วิธีการในการประสานงาน

ตอบ การประสานอย่างเป็นทางการ 

ตัวอย่างเช่น


1. การประสานงานในองค์กร 




2.การประสานงานความร่วมมือของส่วนราชการ



2. การประสานงานไม่เป็นทางการ


ตัวอย่างเช่น 


1. งานจัดเลี้ยง

 



2.การประสานงานภายในทีม




5. การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไรต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
 

ตอบ การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดาเนินงาน และเป็นการนาเสนอเพื่อปรับปรุงในการดาเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป




6. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร



      ตอบ  เป็นประเภทสื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่มีการบันทึกความรู้ ความคิดของมนุษย์นำมารวบรวมเป็นเล่ม ให้ผู้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าและใช้อ้างอิง เรียกว่าเป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ คือหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจและสังคม ข่าวการศึกษา ข่าวกีฬา ข่าวธุรกิจ ข่าวบันเทิง บทความทางวิชาการและ สาระน่ารู้ เป็นต้น



7. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไรในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว



     ตอบ  โสตทัศนวัสดุ คือ ทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีทั้งภาพและเสียง ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์สไลด์ 
ประกอบเสียง เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องฉาย LCD 
-ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ 
-เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
 -เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์


8. การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง


      ตอบ    1. จัดซื้อ ตามความต้องการของหน่วยงานเป้าหมายที่จะมาใช้บริการ
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ 
 1.1 สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ 
 1.2 สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจ าหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ 
1.3 เว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ 
1.4 จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ 


2. รับบริจาค : องค์กร/หน่วยงานที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูล บุคคล 

 3. ผลิตเอง : วีดิทัศน์ ภาพถ่าย บันทึกการประชุม/สัมมนา สแกนภาพ 

 4. แลกเปลี่ยน : ในการให้บริการระหว่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใน

9. จากตัวอย่างสาระของ Weblink แนะนำศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 4 มหาวิทยาลัย จงอธิบายถึงภารกิจหน้าที่ในการให้บริการมีอะไรบ้าง


ตอบ ภารกิจหน้าที่ของสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ สนับสนุนการจัดการศึกษา ได้แก่ งานเทคโนโลยีการเรียนการสอนทางไกล มี vdo conference 10 ช่องสัญญา และการประกันคุณภาพ ภายใต้นโยบายคุณภาพ “สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มุ่งมั่น พัฒนา ระบบบริหาร ผลิตและบริการเทคโนโลยีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจ” โดยสำนักการศึกษาเทคโนโลยีการศึกษาได้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน IOS9001 : 2008 ได้แก่ 1.งานบริหารและธุรการ 2.งานเทคโนโลยีการเรียนการสอนทางไกล 3.งานจัดและผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์การศึกษา 4.งานบริการโสตทัศนศึกษา 5.งานบริการสื่อการศึกษา
อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=h0IYs-39shU
ภารกิจหน้าที่ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ บริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย โดยให้บริการทั้งนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก มีการจัดการบริการอย่างเป็นระบบ มีหนังสือมากมายหลายประเภท รวมถึงมุมที่ใช้อ่านหนังสือ อีกทั้งยังมีการจัดอบรมคอมพิวเตอร์ สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมสารานิเทศตลอดภาคการศึกษา สามารถสมัครเข้าอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีบริการดีๆ อย่างอื่นเช่น บริการสื่อเกี่ยวกับภาคเหนือ ห้อง mini home theater เป็นต้น อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=kRJNiJrAUD0
ภารกิจหน้าที่ของสำนักหอสมุดกลาง หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร คือ ให้บริการยืม-คืนหนังสือที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และค่อนข้างมีระยะเวลานาน มีทั้งภาษไทยและภาษาต่างประเทศ โดยมีการแบ่งประเภทหนังสือตามรายวิชาหรือตามคณะ และที่สะดวกสุดๆ ก็คือ การบริการยืมหนังสือด้วยตัวเอง อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=13FWsyzDvTM
ภารกิจหน้าที่ของสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย”คือ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทางด้านศาสตร์และศิลป์ และแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัย เป็นความรู้นอกตำราที่จับต้องได้ โดยนำข้อมูลเบื้องต้นในลักษณะ Introduction หากท่านสนใจเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ของจุฬาฯ โดยแนะนำอย่างทันสมัย และแบ่งตามคณะ เช่น แพทย์ เภสัชศาสตร์ เทคโนโลยีต่าง ๆ พืชพันธ์นานชนิด ธรณีวิทยา การแสดงดนตรีไทย เป็นต้น อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=sl7SgYA6JDI
ภารกิจหน้าที่ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา คือ มีบริการต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นแต่ละฝ่าย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ทำหน้าที่ รับผิดชอบงานด้านการบริหาร งานธุรการการเงิน งานคลัง งานพัสดุ งานนโยบายและแผน และงานประกันคุณภาพ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ทำหน้าที่ ให้บริการโสตทัศนูอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน บริการห้องเรียน การผลิตสื่อต่าง ๆ ตลอดจนงานศิลปกรรม ฝ่ายบริการคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ ให้บริการการควบคุมดูแลและบำรุงรักษาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ตลอดจนจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งจัดวางระบบสารสนเทศ ภายในมหาวิทยาลัยฝ่ายห้องสมุด ทำหน้าที่ สนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ฝ่ายซ่อมบำรุง ทำหน้าที่ รับผิดชอบซ่อมแซม บำรุงรักษา ติดตั้งและปรับปรุงระบบไฟฟ้า ตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ รวมถึงการซ่อมแซมคุรุภัณฑ์การเรียน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อ้างอิง : http://www.youtube.com/watch?v=s5ZI57Rd9tU