วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมหน่วยการเรียนรู้ที่2 ชมละคร เรื่องกล้าดี


1. ความหมายของการจัดการ พื้นฐานของการจัดการ
- การจัดการ เป็นการดำเนินงานหรือกระบวนการใดๆ ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. องค์ประกอบของการจัดการ 4 MA 2MO 1ME
    1.Man  คน
    2.Materials  วัสดุ                
    3.Machine  เครื่องจักร                
    4.Market  การตลาด/การประชาสัมพันธ์                 
    5.Money  งบประมาณ                 
    6.Moral  ขวัญ กำลังใจ                 
    7.Methods  วิธีการ
               
3. ชมละคร เรื่อง กล้าดี พร้อมวิเคราะห์ ในประเด็นที่กำหนด
     1. ชื่อทีม 3+
     2. คำขวัญของกลุ่ม  อยากสูงต้องเขย่ง  อยากเก่งต้องขยัน
     3. ให้นิสิตสมมุติเขียนฝ่ายงานต่าง ๆ ของการออกค่ายอาสา
     - ฝ่ายสวัสดิการ 
     - ฝ่ายสถานที่ 
     - ฝ่ายการเงิน 
     - ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 
     - ฝ่ายประสานงาน


     4. ละครดังกล่าวมีการสะท้อนความคิดในเรื่องใด
- ละครดังกล่าวมีการสะท้อนความคิดใรเรื่องการ วางแผนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มที่มีคนมีกว่า คนขึ้นไป มาทำงานร่วมกันยอมเกิดปัญหาใรการทำงาน

     5. เนื้อหาในละครมีการจัดการหรือไม่ เพราะเหตุใด
                    - มีการจัดการ เพราะ มีการแบ่งหน้าที่บทบาทของทุกคนในกลุ่มให้เหมาะสมกับงาน

     6. เนื้อหาในละครมีองค์ประกอบของการจัดการ 7 M อะไรบ้างจงอธิบาย
            1Man  คน ครู นักเรียนกลุ่มออกค่ายอาสา
            2Materials  วัสดุ ข้าวสารอาหารแห้ง
            3Machine  เครื่องจักร รถยนต์ รถไฟ
            4Market  การตลาด/การประชาสัมพันธ์ มีการทำถุงผ้าขอเงินสนับสนุน
            5Money  งบประมาณ : ค่าใช้จ่ายในการออกค่าย ค่ารถ ค่าอาหาร 
            6Moral  ขวัญ กำลังใจ มีการให้กำลังใจกันภายในกลุ่ม ครอบครัว และคุณครู
            7Methods  วิธีการ มีการวางแผน แบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบ
                  
      7. เนื้อหาในละครมี POSDCORB อย่างไรจงอธิบาย
            1) การวางแผน  Planing มีการวางแผน แบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบ
            2) จัดองค์กร  Organizing : วางแผน แบ่งหน้าที่เป็นฝ่ายๆตามความเหมาะสมในแต่ละคน
            3) จัดคนงาน  Saffing : มีการแบ่งหน้าที่เป็นฝ่ายๆตามความเหมาะสมในแต่ละคน
            4) อำนวยการ  Directing : มีผู้นำในการแบ่งงานของคนในกลุ่ม ตรวจสอบความเรีบยร้อย
            5) ประสานงาน  Coordination : มีคนติดต่อสถานที่เพื่อความสะดวก
            6) รายงาน  Reporting : มีการรายงานผลของแต่ละฝ่ายงาน เพื่อจะได้สรุปและแก้ปัญหา
            7) การเงินและงบประมาณ  Budgeting : ค่าใช้จ่ายในการออกค่าย ค่ารถ ค่าอาหาร


วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่1

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบศึกษา


           ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้ 3ประเภท ได้แก่
1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน หมายถึง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ได้แก่ ศูนย์สื่อการศึกษา หรือหน่วยบริการสื่อการศึกษา
2. 
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียน ที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จาเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ,ศูนย์การเรียน เป็นต้น3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจาก ประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
         มี ความแตกต่างกันคือ ที่รายละเอียดของแต่ละศูนย์ฯที่มีวิธีการดำเนินงานเป็นไปตามสภาพความพร้อม สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาและเป้าหมายการดำเนินงานเป็นของแต่ละหน่วยงานซึ่ง บางศูนย์ฯอาจรวมอยู่กับหอสมุดของสถาบันการศึกษาให้บริการทั้งสิ่งพิมพ์และ ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (โสตทัศนูปกรณ์)แล้วเรียกชื่อส่วนที่รับผิดชอบบริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ว่าศูนย์โสต ทัศนศึกษาหน่วยโสตทัศนศึกษา ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์หรือเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ได้โดยมีการบริหารจัดการและ มีระบบการจัดการในลักษณะที่เป็นหน่วยงานเดียวกันแต่แยกภารกิจ ซึ่งบางศูนย์ฯจะแยกเป็นเอกเทศหมายความว่าจะแยกหน่วยงานที่รับผิดชอบบริการ สิ่งพิมพ์กับหน่วยงานที่บริการทางโสตทัศนูปกรณ์ออกจากกันโดยที่บุคคลและ ภารกิจก็แยกออกจากกันเป็นเอกเทศ โดยอาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นก็ได้ซึ่งผู้บริหารภายในศูนย์ฯขึ้นตรงต่อผู้ บริหารระดับสูงของสถานศึกษาหรือขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับรองแล้วแต่กรณี


3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง 


1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในระบบ
1.1 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยบูรพา 
ที่ตั้ง : ชั้น 3 ห้อง 300 อาคาร 60 พรรษามหาราชินี (QS 1 ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
          ต . แสนสุข อ . เมือง จ . ชลบุรี 20131 โทรศัพท์ (038) 745900 ต่อ 2080
กลุ่มเป้าหมาย : ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มีหน้าที่ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอน และ 
           ค้นคว้าวิจัยสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์
อ้างอิง : http://www.edu.buu.ac.th/lrc/index2.html

1.2 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
ที่ตั้ง : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา 169, ถนนลงหาดบางแสนต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี,     
           รหัสไปรษณีย์  20131, 20130
กลุ่มเป้าหมาย :  คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา
อ้างอิง : http://www.lib.buu.ac.th/webnew2/

1.3  ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่ตั้ง : ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ห้อง 3-205   อาคารศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา
          คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กลุ่มป้าหมาย : คณาจารย์ นิสิต และบุคลากร ในสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อ้างอิง : http://www.edu.ku.ac.th/centershow.asp?id=1

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นอกระบบ
2.1 ศูนย์การเรียนรู้ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม
ที่ตั้ง : โรงบำบัดน้ำเสียส่วนกลางนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง  49/19 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา                                        
             จ.ชลบุรี 
กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลทั่วไป
อ้างอิง : http://www.gusco.co.th/gusco_new/rcy_lcb/Rcy_plant_LCB.asp

2.2  ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมงาน 
        ศิลปาชีพ ภาคเหนือ
ที่ตั้ง : ศูนย์การเรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเหนือ ถนนแม่ริม  ต.แม่สา อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่ 
ลุ่มเป้าหมาย : สำหรับเยาวชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป
อ้างอิง : http://www.northernstudy.org/
2.3 ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ครบ 36 พรรษา
ที่ตั้ง :  เลขที่ 104 ม.ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 
กลุ่มเป้าหมาย :  เยาวชน - ประชาชน ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๔ - ๓๕ ปีขึ้นไป ที่มีฐานะยากจนขาดแคลน   
                          และผู้ว่างงานต้องการฝึกอาชีพ เพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว  จบการศึกษา 
                          ภาคบังคับ  เป็นผู้มีความประพฤติดีมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดต่าง ๆภาคตะวันออก
                          และจังหวัดใกล้เคียง
                 อ้างอิง : http://www.svtc.go.th/th/index.php

3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

                3.1 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
                ที่ตั้ง : 169 ถ.ลงหาดบางแสน  ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
                กลุ่มเป้หมาย : นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
                อ้างอิง :  http://www.bims.buu.ac.th/Pages/index3.aspx

                3.2  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
                ที่ตั้ง : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  ถ.รังสิต-นครนายก  ต. คลองห้า  อ. คลองหลวง        
                       จ. ปทุมธานี 12120
                กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
                อ้างอิง : http://www.nsm.or.th/nsm2012/index.php

                3.3 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
                ที่ตั้ง : เขาหมาจอ  ต.แสมสาร  อ.สัตหีบ  จ.ชลบุรี 
                กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชนและประชนทั่วไป
                อ้างอิง : http://www.tis-museum.org/


ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา


1. การออกแบบ (Design) 
            ในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้ ได้แก่
    1.1 การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design) มี 5 ขั้นตอนดังนี้
          
1) การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียน ต้องเรียนในเนื้อหาอะไรบ้าง
          
2) การออกแบบ (design) คือ กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต่อผู้เรียน
          
3) การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้าง การผลิตสื่อการสอน
          
4) การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน    
          
5) การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน
    1.2 ออกแบบสาร (message design) คือ การวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน                     
    1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
    1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)คือ ลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน
2. การพัฒนา (Development) 
              กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ
    2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ  ตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ วารสาร แมกกาซีน                 
    2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตัวอย่างอุปกรณ์โสตฯ โปรเจคเตอร์, เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, ลำโพง, กล้องวีดีโอ, กล้องดิจิตอล, เครื่องฉายข้ามศีรษะ
    2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย                 
    2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ 

3. การใช้ (Utilization)
             ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
    3.1 การใช้สื่อ  (Media Utilization)  เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน      
    3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of innovation) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม 
    3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (Implementation and Institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ       
    3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulation) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
4. การจัดการ (Management) 
            ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ     
    4.1 การจัดการโครงการ (Project Management)  เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการ        
    4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (Resource Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ                       
    4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (Delivery System Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
    4.4 การจัดการสารสนเทศ (Information Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
5. การประเมิน (Evaluation)  
             การหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
    5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)  เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ                 
    5.2 เกณฑ์การประเมิน (Criterion – Reference Management) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา          
    5.3 การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป          
    5.4 การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป